ยศช้างขุนนางพระ มีเพื่อเชิดชูคนดีและคว่ำบาตรคนชั่ว?

        ยศช้างขุนนางพระ  สำนวนนี้เมื่อคนยุคใหม่ได้ยินแล้วคงไม่คุ้นหู หรือเข้าใจถึงความหมายที่ชัดเจน รวมทั้งที่มาที่ไปว่าเกิดสำนวนนี้มาได้อย่างไร วันนี้ที่นึกถึงอยากจะนำสำนวนนี้ขึ้นมาพูดคุยถึง น่าจะเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันนี้มีข่าวเกี่ยวกับการแต่งตั้งสมณศักดิ์สำคัญของวงการคณะสงฆ์ นั่นคือการแต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
ตำราคชลักษณะ
ทีมา: https://goo.gl/6Bx3O3
ทีมา: https://goo.gl/6Bx3O3

       ยศช้างขุนนางพระ หมายถึง เกียรติยศชื่อเสียงซึ่งผู้รับมิได้รู้สึกว่าเป็นประโยชน์แก่ตน มาจากในสมัยก่อน ช้าง เป็นสัตว์สำคัญ จึงได้รับการยกย่องแต่งตั้งให้มียศ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ช้างเปลี่ยนไป ส่วน พระภิกษุ ซึ่งถือเป็นผู้สืบทอดพระศาสนจึงมีการถวายสมณศักดิ์ แต่พระภิกษุก็ไม่ได้หวั่นไหว ยังคงยึดมั่นในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ยศช้างขุนนางพระ จึงถือว่าเป็นยศที่ไม่ได้ทำให้ผู้รับมีอำนาจเหมือนยศทหารหรือขุนนาง
       สมณศักดิ์ ว่ากันตามตำรับตำรา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระสงฆ์รูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย

พัดยศ เป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น
เพื่อถวายแก่พระสังฆาธิการในโอกาสรับพระราชทานสมณศักดิ์
ที่มา: https://goo.gl/dwBOQd
       เรามาศึกษากันค่ะว่า สมณศักดิ์มีความเป็นมาอย่างไร
       ขอพูดถึงตั้งแต่สมัยพุทธกาลเลยแล้วกันนะค่ะ สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้จิตวิทยาในการปกครองพระสงฆ์สาวก โดยการยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ป้องปรามผู้ที่ควรป้องปราม ดังจะเห็นได้จากทรงยกย่องพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวก ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และทรงตั้งเอตทัคคะ (ผู้เป็นเลิศหรือยอดเยี่ยมในด้านใดด้านหนึ่ง) กล่าวคือ ทรงยกย่องพระสาวกอีกส่วนหนึ่งว่ามีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ด้วยพุทธวิธี อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังมิได้ถือว่าเป็นสมณศักดิ์
       เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพื่อสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนา พระประมุขแห่งประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ โดยปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชทานสมณศักดิ์ และพัดยศพร้อมทั้งเครื่องประกอบสมณศักดิ์อื่นๆ ประเทศต่างๆ ได้รับแบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา

ที่มา: https://goo.gl/M8lcOh

       สำหรับประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยรัชสมัยพระมหาธรรมราชลิไทย พระองค์ได้โปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมาแต่ลังกา เพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในกรุงสุโขทัย พระมหาสามีสังฆราชคงจะได้ถวายพระพรให้พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงตั้งสมณศักดิ์ ถวายแด่พระสงฆ์ ตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศลังการะบบสมณศักดิ์ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อนเพราะมีเพียง ๒ ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู
       ส่วนในสมัยอยุธยาระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น ๓ ระดับ คือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะและพระครู
      ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยได้เพิ่มขึ้นตามกาลสมัย และความจำเป็นในด้านการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งทำเนียบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ดังนี้

1. สมเด็จพระสังฆราช 1 พระองค์
2. สมเด็จพระราชาคณะ 8 รูป
3. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง 23 รูป
4. พระราชาคณะชั้นธรรม 50 รูป
5. พระราชาคณะชั้นเทพ 100 รูป
6. พระราชาคณะชั้นราช 210 รูป
7. พระราชาคณะชั้นสามัญ 510 รูป
8. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ(ไม่จำกัดจำนวน)
9. พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
10. พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)(ไม่จำกัดจำนวน)
11. พระเปรียญ ป.ธ.9 - ป.ธ.8 - ป.ธ.7 - ป.ธ.6 - ป.ธ.5 - ป.ธ.4 - ป.ธ.3

       แต่เดิม การพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก มีศิลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้วก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป (สมณศักดิ์, http://goo.gl/m555M4)

รายนามสมเด็จพระราชาคณะ 8 รูปในปัจจุบัน (เมษายน พ.ศ. 2559)

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
กรรมการมหาเถรสมาคม 

เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ 
(มหานิกาย)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร 
(ธรรมยุติ) 


สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)
รองแม่กองงานพระธรรมทูต รูปที่ 1 กรรมการมหาเถรสมาคม
 เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 
(ธรรมยุติ)

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) 
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (ธรรมยุติ)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี)
กรรมการมหาเถรสมาคม
 เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร 
กรุงเทพมหานคร (มหานิกาย)
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)
รองแม่กองธรรมสนามหลวง รูปที่ 1 ฝ่ายนักธรรม

เจ้าคณะภาค 1-2-3-12 และ 13  กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (ธรรมยุต) 


สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม
 เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (มหานิกาย)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) 
ประธาน ศตภ. หัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 5 
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (มหานิกาย)

       ในเรื่องการมีสมณศักดิ์ในวงการสงฆ์นั้น เราปุถุชนอย่ามองว่าเป็นเรื่องเสียหาย แล้วกล่าววิพากษ์วิจารณ์ว่าพระท่านไม่ละกิเลส ยึดติดตำแหน่ง แต่เมื่อพิจาณาข้อมูลดังที่กล่าวข้างต้น นั้นเราจะเห็นได้ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของตำแหน่ง หรือสมณศักดิ์พระมหากษัตริย์พระราชทานให้นั้น มีไว้เพื่อให้คณะสงฆ์มีการปกครองเป็นไปโดยเรียบร้อย เป็นการข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ซึ่งการได้ยศของพระไม่ต่างจากช้าง คือแม้ได้มาก็มิได้หลงมัวเมา ยังทำหน้าที่ตนเองตามปกติ ถึงเวลามีสงครามช้างก็ออกรบด้วยความกล้าหาญ พระภิกษุสงฆ์เองก็มีเจตนาบริสุทธิ์กับประชาชนในการเผยแผ่และรักษาคำสอนพระธรรมวินัยไว้ให้ยาวนาน หรือสมณศักดิ์เป็นดุจดั่งเกลียวทองที่ร้อยเรียงดอกไม้ที่กระจัดกระจายให้เป็นระเบียบดอกไม้ที่สวยงาม  


                                                                                           เรียบเรียงโดย มะลิ สไมล์ 
อ้างอิง:
วิกิพีเดีย, https://goo.gl/mLvLE8
ยศช้างขุนนางพระ, http://goo.gl/YA04O6.
สวนเมธีกันตาราม, http://goo.gl/syeKj1.
สมณศักดิ์, http://goo.gl/do4MIa.

ยศช้างขุนนางพระ มีเพื่อเชิดชูคนดีและคว่ำบาตรคนชั่ว? ยศช้างขุนนางพระ มีเพื่อเชิดชูคนดีและคว่ำบาตรคนชั่ว? Reviewed by Mali_Smile1978 on 06:24 Rating: 5

112 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ช้างได้ยศเป็นคุณพระ เป็นพระยา มันไม่รู้สึกรู้สา ส่วนพระคุณเจ้าได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ก็มิได้เย่อหยิ่งลำพองเช่นกัน ไม่ได้เปรียบกับช้าง แต่เปรียบคล้ายกัน คือ ท่านสักแต่เพียงรับมาเท่านั้น มีแต่คฤหัสถ์บริโภคกามเท่านั้น แข่ง เชียร์ จนวุ่นวายไปหมด

PnD กล่าวว่า...

ผู้เขียน พูดได้ถูกต้องแล้วครับ
พระท่าน ได้ยศ เพื่อการปกครองคณะสงฆ์เท่านั้น
แต่ มีบางคนไม่วาย นึกว่า พระจะเหมือนตัวเองที่ได้อำนาจแล้วจะบ้าอำนาจ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้ความรู้และเห็นชอบครับ ว่าเป็นระบบเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

Unknown กล่าวว่า...

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งสมัยก่อนเป็นอย่างนี้จริง

Uncle Kuang กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ เป็นความรู้ใหม่ที่อ่านแล้ว
ได้ประโยชน์ต่อตนเอง และสามารถส่งต่อให้กับผู้ที่ยัง
ไม่รู้และไม่เข้าใจ ได้คิดกันใหม่ให้ถูกต้องด้วยค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ยศพระนั่นเป็นพระราชศรัทธาของพระมหากษัตรย์
พระสงฆ์ท่านรับเพื่อฉลองพระราชศรัทธาเท่านั้น
มิได้ลำพองตนเพราะเป็นของสมมติเท่านั้น
ดั่งสมเด็จโตวัดระฆังที่ ท่านหนีการรับบสมณศักดิ์
จนพระมหากษัตรย์ต้องบังคับให้รับ

Unknown กล่าวว่า...

เปรียบเทียบได้ชัดเจน เห็นภาพดีครับ

Unknown กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้ความรู้ดี ชอบค่ะ ขอบคุณนะคะที่เขียนข้อมูลดีๆให้อ่าน

Unknown กล่าวว่า...

ขอบพระคุณเจ้าของกระทู้มากคะ ที่ได้นำเรื่องราวดีๆและคติสอนใจมาแบ่งปัน ซึ่งพระสงฆ์ท่านก็เป็รอย่างนั้นจริงท่านถึงได้ที่ชีวิตแบบชาวโลกเข้ามาสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

เห็นด้วยค่ะ พระสงฆ์ท่านมีคุณงามความดีต่อพระพุทธศาสนา จนเป็นที่ประจักษ์ สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับ ท่านก็มองว่าเป็นอุปกรณ์หรือโอกาสให้ท่านทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากขึ้น ไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านั้นค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

มียศตรงนี้เพื่อความเรียบร้อยของการปกครอง
เเละมีไว้ข่มคนไม่ดี
ยกย่งเชิดชูคนดี

ชัดเจนมาก สุดยอด

jpranee กล่าวว่า...

ได้รับสมณศักดิ์ดีค่ะ เพราะ ๑) เป็นประโยชน์ในแง่การปกครองคณะสงฆ์ ให้ความเป็นธรรมกับพระที่่อยู่ในสายการดูแลได้ดี ทำให้พระพุทธศาสนางดงามมากขึ้น ๒) เป็นการแสดงให้เห็นว่า พระมหาเถระที่ได้รับสมณศักดิ์ มีคุณความดี ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ และเป็นต้นแบบในการทำความดีของคณะสงฆ์สืบไป ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เห็นด้วยค่ะ พระแตกต่างจากปุถุชนตรงที่ท่านสละทางโลกมาแล้ว มุ่งหวังละกิเลส ไม่ไดมีความคิดในเรื่องยศตำแหน่งแล้ว ตำแหน่งยิ่งสูงความรับผิดชอบก็เพิ่มขึ้นด้วย

I ความคิด กล่าวว่า...

https://youtu.be/ZF7tcupDSVU

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สาธุ เป็นการให้ความรู้ที่ชัดเจนและเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น

อารียา กล่าวว่า...

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ให้มีการแต่งตั้งผู้ปกครองดูแลสงฆ์
เพื่อข่มพระผู้เก้อยาก ดื้อรั้นไม่เคารพพระวินัย และรักษาสถาบันสงฆ์ให้งดงามน่าเลื่อมใสตามพระธรรมวินัย เป็นศูนย์รวมใจรวมศรัทธาญาติโยมไปนานๆค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

เห็นด้วยครับการที่พระภิกษุสงฆ์ได้ทำคุณงามความดีให้กับสังคมมากมากไม่มีเรื่องเสื่อมเสียก็สมควรให้ตำแหน่งแก่ท่านเป็นการเชิดชูเกียรติ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ยศ หรือตำแหน่งต่าง ๆ มีไว้เพื่อสร้างบารมี สร้างความดีครับ สาธุ

Unknown กล่าวว่า...

บรรพบุรุษของเรารักพระพุทธศาสนา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของชาวโลก

ผู้ที่มีบุญน้อย ต้องปกครองโดยคนที่มีคุณมากเพื่อให้เขาดำรงตนได่ถูกต้องดีงาม

yuki^__^ กล่าวว่า...

เห็นด้วยกับผู้เขียนค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรื่องของวงการสงฆ์ควรที่จะให้สงฆ์จัดการสิครับ อย่ามาแสดงตัวอยู่เหนือพระเลย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สัตว์ที่มีบุญมากคือช้าง คนที่มีบุญมากคือพระ คนที่ไม่รู้ว่าอยู่สปีชี่ไหนต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระคมสัน กล่าวว่า...

เป็นบทความที่ช่วยชี้ให้สังคมรับรู้โดยเฉพาะไม่ด่วนตัดสินใครว่าดีชั่วแบบเบ็ดเสร็จ ให้มีสติกันให้มากๆปัจจุบันนี้สังคมไทยเราก็วุ่นวายมากพอแรงแล้ว เยาวชนควรศึกษาบ้างอย่าคิดแต่ว่าพระ ทุกวันนี้คนไทยอ่านน้อยมาก ดูแต่บอลดูแต่ละคร น.น.กัน

Kamolnat กล่าวว่า...

บทความนี้น่าสนใจและได้รับความรู้ดีมาก ขอบคุณที่ทำบล็อกดีๆแบบนี้ขึ้นมา ถูกใจมาก♡ อนุโมทนาบุญค่ะ^^

Unknown กล่าวว่า...

สาธุๆ

Unknown กล่าวว่า...

ขนบธรรมเนียม ประเพณีใดๆ ที่ดีงาม และเป็นเอกลักษณ์ ส่งเสริมให้ชาติ บ้านเมืองและประชาชน ร่มเย็นเป็นสุข มายาวนาน สมควรปลูกฝังและ ส่งเสริมให้คนรุ่นต่อๆมาได้เข้าใจวัตถุประสงค์ที่ถูกต้อง มีหลักในการปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง คุณธรรมความดีนั้นจึงจะศักดิ์สิทธิ์และสืบต่อได้อย่างยาวนานสืบไป เช่นเดียวกับพระพุทธศาสนา อันเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุดนั่นเอง

Unknown กล่าวว่า...

สาธุอนุโมทนาบุญ ข้อมูลดีๆ

Unknown กล่าวว่า...

ต้องมีตำแหน่งการปกครองทุกวงการนะต่ะ
บ้านเมืองก็ตำแหน่งนายก รัฐมนตรีว่าการ รมต.ช่วย อธิบดี
พระก็ต้องมีเช่นเดียวกันคะ

Kiat กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ ได้รับความรู้เรื่องที่มาที่ไปของสมณศักดิ์ ดังสำนวน ยศช้างขุนนางพระ ได้ดีมากๆ เลยครับ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ยศตำแหน่งของพระสงฆ์มีเพื่องานปกครองคณะสงฆ์ ปุถุชนคนธรรมดาควรทำความเข้าใจอย่าเอามาตรฐานของปุถุชนไปเทียบกับพระและกล่าวร้ายท่าน

think-tale กล่าวว่า...

ขออนุโมทนากับคณะสงฆ์ทีได้ดูแลงานพระศาสนาทุกท่านครับ

Unknown กล่าวว่า...

ข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง เข้าใจเลย เพื่อการปกครองที่ดีงาม

Unknown กล่าวว่า...

อันยศนั้น พระราชา เป็นผู้มอบให้ผู้ที่ทำคุณงามความดี ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติและพระพุทธศาสนา. แต่เมื่อผู้ได้รับยศจากพระราชา ถูกดูหมิ่นดูแคลน ไม่ให้ความเคารพ คำถาม แสดงว่า หมิ่น ผู้มอบให้(พระราชา)ด้วยใช่ไหม? น่าคิดนะครับ

mong08 กล่าวว่า...

เห็นด้วนกับผู้เขียนครับ ยศตำแหน่งมีไว้ทำความดีไว้สร้างบารมีขยายงานพระพุทธศาสนาให้ยืนยายคู่กับประเทศไทยคู่โลกของเราตลอดไป

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่า ผู้เขียนยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจได้อย่างชัเเจน
อนุโมทนาบุญคะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ตำแหน่งยศมันมากับความรับผิดชอบนะครับถ้าไม่ไม่มันไม่สะดวกเรื่องการปกครองทั้งโลกและธรรมครับ

Chanida Jantrasrisalai กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลความรุ้ดีๆ เหมาะสมกับเหตุการณ์พอดี

chong jiji กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

เห็นด้วนกับผู้เขียนครับ ยศตำแหน่งมีไว้ทำความดีไว้สร้างบารมีขยายงานพระพุทธศาสนาให้ยืนยายคู่กับประเทศไทยคู่โลกของเราตลอดไป
สาธุ สาธุ สาธุ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่ะ

SumireforPeace กล่าวว่า...

ทุกวงการ ก็ต้องมีลำดับการปกครองเพื่อความสงบสุข
แม้แต่สถาบันครอบครัวเองก็ยังต้องมีลำดับ
เช่นหัวหน้าครอบครัว พ่อแม่ปู่ย่าตายาย
เพื่อการเชื่อฟังตักเตือนกัน
สมเด็จท่านไม่ได้อยากได้ตำแหน่ง
แต่ตามความเหมาะสมแล้วท่านสมควรกับตำแหน่ง

ถ้าทำตามกระบวนการที่ทำตามกันมาจะไม่มีปัญหาค่ะ
เพียงแต่มีฆราวาสอยากเอาอำนาจทางกฏหมาย
มาจัดการซึ่งไม่เหมาะสมเลยค่ะ

บุญชู กัณหะกิติ กล่าวว่า...

ขอบคุณที่เอาข้อมูลดีๆ มาเผยแผ่ให้สาธารณชนได้รับรู้ จะได้ช่วยยับยั้งพวกที่ไม่รู้แล้วชอบเสียดสี กระทบกระเทียบเปรียบเปรยพระสงฆ์องค์เจ้า ให้เป็นบาปกรรมติดตัวต่อไปครับ

Unknown กล่าวว่า...

ดีจังค่ะ ไม่เคยรู้มาก่อน อนุโมทนาบุญค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ. สงฆ์ก็ต้องปกครองสงฆ์ด้วยกันจึงสมควร. ฆราวาสอย่าได้กระทำเลย. ศีลไม่เท่าสงฆ์. ไม่มีในธรรมเนียมปฏิบัติค่ะ. พระสงฆ์ท่านรับสมณศักดิ์ ก็รับไปตามหน้าที่. ใจมิได้ข้องยึด. มีแต่ภาระการปกครองติดตามมา. แต่ท่านก็ยินดีเพื่อให้สังฆมณฑลมีระเบียบเรียบร้อย. เราต้องอนุโมทนาค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

อำนาจมียศมีไว้เพื่อทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน
ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างคุณงามความดีและส่งเสริมคุณธรรมในตัวให้สูงขึ้น
หากคนชั่วได้อำนาจหรือมียศมีตำแหน่ง ประโยชน์นั้นย่อมหามีไม่ หากแต่จะทำให้แผ่นดินร้อนเหมือนไฟ หากคนชั่วปกครองบ้านเมือง

Unknown กล่าวว่า...

อำนาจมียศมีไว้เพื่อทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน
ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างคุณงามความดีและส่งเสริมคุณธรรมในตัวให้สูงขึ้น
หากคนชั่วได้อำนาจหรือมียศมีตำแหน่ง ประโยชน์นั้นย่อมหามีไม่ หากแต่จะทำให้แผ่นดินร้อนเหมือนไฟ หากคนชั่วปกครองบ้านเมือง

Unknown กล่าวว่า...

อำนาจมียศมีไว้เพื่อทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน
ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างคุณงามความดีและส่งเสริมคุณธรรมในตัวให้สูงขึ้น
หากคนชั่วได้อำนาจหรือมียศมีตำแหน่ง ประโยชน์นั้นย่อมหามีไม่ หากแต่จะทำให้แผ่นดินร้อนเหมือนไฟ หากคนชั่วปกครองบ้านเมือง

Unknown กล่าวว่า...

อำนาจมียศมีไว้เพื่อทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน
ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างคุณงามความดีและส่งเสริมคุณธรรมในตัวให้สูงขึ้น
หากคนชั่วได้อำนาจหรือมียศมีตำแหน่ง ประโยชน์นั้นย่อมหามีไม่ หากแต่จะทำให้แผ่นดินร้อนเหมือนไฟ หากคนชั่วปกครองบ้านเมือง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เยี่ยนมเลยครับ ได้ความรู้มาก ๆ

Unknown กล่าวว่า...

อำนาจมียศมีไว้เพื่อทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน
ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสร้างคุณงามความดีและส่งเสริมคุณธรรมในตัวให้สูงขึ้น
หากคนชั่วได้อำนาจหรือมียศมีตำแหน่ง ประโยชน์นั้นย่อมหามีไม่ หากแต่จะทำให้แผ่นดินร้อนเหมือนไฟ หากคนชั่วปกครองบ้านเมือง

Unknown กล่าวว่า...

สาธุ ครับ ได้ความรู้มากๆ ครับ

Unknown กล่าวว่า...

อนุโมทนาบุญค่ะ ชาวพุทธควรจะได้ศึกษา. มีอีกมากมายที่ชาวพุทธควรรู้ดีมากค่ะ

Lightsoundgreen@gmail.com กล่าวว่า...

ยศช้างขุนนางพระ
มีเพื่อเชิดชูคุณธรรมคนดี
คว่ำบาตรคนชั่ว

Unknown กล่าวว่า...

สุดยอดเลยค่ะ

เพลินเพลง กล่าวว่า...

เป็นความรู้ที่ดีของการปกครองของคณะพระสงฆ์และต้องบำเพ็ญเพียรภาวนามานานกว่าจะได้ยศตำแหน่งมา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นบทความที่ดี น่าศึกษาเรียนรู้มากครับ

Unknown กล่าวว่า...

เป็นข้อมูลที่ดีครับจะได้เข้าใจตรงกันว่าความจริงเป็นแบบไหน

Unknown กล่าวว่า...

สาธุ เป็นสิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจครับ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณข้อมูลดีดี
เมื่อเราได้ศึกษาถึงแก่นแท้
จะได้ไม่เผลอชี้นำในสิ่งที่รู้ไม่จริง

Middle way กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

Angsuma Lin กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้แง่คิดเตือนสติผู้ไม่รู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์

Unknown กล่าวว่า...

ทุกอย่างมีที่มา ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ
มีไว้เพื่อเชิดชูคนดี
และข่มบุคคลผู้เก้อยาก

Unknown กล่าวว่า...

วัดพระธรรมกายสอน วิชาชีวิต เป็นความริงที่ตัองเรียนรู้ ไม่มีที่ไหนเคยสอนและทำให้เห็นภาพชัดเจนขนาดนี้และยังสอนเรื่องกฎแห่งกรรม อันเป็นความจริงที่ทุกคนต้องเจอและรับผลของการกระทำแม้จะอยากได้หรือไม่ก็ตามค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

อนุโมทนาสาธุ กับข้อมูลที่ดีต่อพระพุทธศาสนา

Unknown กล่าวว่า...

ถูกต้องแล้วค่ะ คนที่จ้องโจมตีผู้อื่น คงไม่คิดทำความดีอะไร เข้าใกล้อันตราย

Unknown กล่าวว่า...

ดีครับเข้าใจแล้วว่ามีมาสมัยโบราณสมัยพุทธกาลไม่ได้พึ่งเกิดมาในยุคปัจจุบัน
ดั่งที่บางคนเข้าใจ

Unknown กล่าวว่า...

เป็นบทความดีมากค่ะอ่านเข้าใจง่าย

Unknown กล่าวว่า...

สมณศักดิ์ในวงการสงฆ์ มีไว้เพื่อให้คณะสงฆ์มีการปกครองเป็นไป โดยเรียบร้อย สาธุค่ะ

Suppanun กล่าวว่า...

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ

Unknown กล่าวว่า...

ชัดเจนดีค่ะ พระท่านไม่ได้หวังลาภ ยศ เพียงเพื่อปกครอหมู่สงฆ์ให้สงบสุขเท่านั้นเอง คนพาลก็กล่าวไปต่างๆนานาด้วยความไม่รู้

Unknown กล่าวว่า...

ขออนุโมทนาบุญที่ช่วยให้ความกระจ่างคะ หวังว่าผู้ที่เข้าใจอะไรแบบผิดๆและนำไปขยายความต่อแบบผิดๆจะเข้าใจและว่ากล่าวคณะสงฆ์อีก

Unknown กล่าวว่า...

ลองนึกแบบนี้นะแล้วจะเข้าใจ ถ้าประเทศไหนที่ไม่มีผู้นำประเทศนั้น ย่อมไม่สามารถพัฒนาให้เจริญได้ หรือแม้แต่หน่วยงานยังต้องมีผู้นำ จึงสามารถพาหน่วยงานน้ันให้ก้าวหน้าไปได้ ดังน้ันในความเป็นพระภิกษุสามเณรน้ันก็ต้องมีผู้นำ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดี่ยวกันที่มีความงดงาม

B2_BIG กล่าวว่า...

ยศ มีไว้เชิดชูความดี

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

อ่านแล้วได้ความรู้และเห็นชอบค่ะ ว่าเป็นระบบเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขอบคุณที่เสนอข้อมูลดีๆ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ

gutle กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ ได้ความรู้เยอะเลยครับ

Unknown กล่าวว่า...

ยศมีไว้ประกาศคุณงามความดี..และสร้างความชัดเจนในการวางระบบปกครองสงฆ์

Unknown กล่าวว่า...

ดีค่ะ ให้ข้อมูลดีมากได้ความรู้เพิ่มค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ยศของท่านได้มาเพราะสร้างคุณงามความดี และพระท่านไม่ได้รู้สึกรู้สาเลย

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณจริงๆสำหรับการสนับสนุนด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงเชิงวิชาการ ไม่ใช่ค้านแบบหัวชนฝา ตะแบงแต่ด้วยความชอบ ไม่ชอบของตนเองที่ได้รับข้อมูลแบบไม่ไตร่ตรองเลย หรือบางกลุ่มเหมือนจงใจจะล้มอย่างเดียวเลย

Unknown กล่าวว่า...

อนุโมทนากับข่าวใสๆคับ

RUETAI FROST กล่าวว่า...

ได้ความรู้มากขึ้นค่ะ
ขอขอบพระคุณมากค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ข้อมูลดีๆที่ควรศึกษา ขอให้ชาวพุทธทุกท่านช่วยกันรณรงค์รักษาศีล 5 ให้ครบทุกหมู่บ้าน ทุกคนทั่วประเทศนะคะ สาธุๆ

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ที่พระท่านได้มาก็เพราะคุณงามความดีของท่านที่ได้ ทำมา เป็นกำลังใจให้ท่านได้ทำหน้าที่ปกครอง คณะสงฆ์ เพื่อสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา นั่นแหล่ะครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่ะ เป็นข้อมูลที่ ไม่ค่อยได้พบเห็นโดยทั่วไป อนุโมทนาด้วยนะคะ

yai กล่าวว่า...

สาธุ สาธุ สาธุ

Unknown กล่าวว่า...

วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของตำแหน่ง หรือสมณศักดิ์พระมหากษัตริย์พระราชทานให้นั้น มีไว้เพื่อให้คณะสงฆ์มีการปกครองเป็นไปโดยเรียบร้อย เป็นการข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง......เห็นรายชื่อของสมเด็จพระราชาคณะ 8 รูปที่ท่านได้มีมติร่วมกันในการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ยังมีข้อครหาใดที่ไม่ควรอีกหรือ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีๆค่ะ. สุดยอดมากค่ะ พระควรปกครองพระ ฆาราวาสมีกิเลสมากไม่ควรมาย่งเรื่องพระ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณคะที่นำเรื่องราวดีๆๆมาให้อ่านทำให้เข้าใจเรื่องพระสงฆ์ในขั้นตอนและความหมายที่แท้จริงคะ

Gawinthrammm กล่าวว่า...

ขอขอบคุณข้อมูลดีดี เช่นนี้ค่ะ ความหมายก็คือยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง คนดีสมควรเป็นผู้ปกครอง เพื่อจะได้ปรามคนไม่ดีได้

Unknown กล่าวว่า...

อ่านแล้วทำความเข้าใจตาม เห็นภาพชัดเจนจริงๆ ค่ะ เปรียบเหมือนบ้านเมืองต้องมีผู้นำเช่นนั้นค่ะ

Bright side กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ…เป็นความรู้ใหม่…ที่น่าศึกษาค่ะ

dd กล่าวว่า...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมณศักดิ์ให้พระคุณเจ้าแต่ล่ะรูปก็สมควรแล้วครับเพราะพระคุณเจ้าแต่ล่ะรูปทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนามากมาย

t.hatasawan กล่าวว่า...

สาธุ ได้ความรู้เยอะเลย เรื่องตำแหน่ง ยศ บางครั้ง ไม่ได้หมายถึงการยึดติด ในลาภยศ สรรเสริญเสมอไป บางอย่าง อาจมากับหน้าที่ และความรับผิดชอบ

Om Sinphavong กล่าวว่า...

สาธุ ๆ ๆ
ได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ
ขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญด้วยนะคะ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุคับ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะที่กรุณารวบรวมข้อมูลแบบสั้นและได้ใจความแบบสมบูรณ์ทั้งภาพพระเถระประกอบมาให้เห็นด้ว การปกครองในอดีตไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ต้องมี ระดับการปกครอง โดยแบ่งตามอาวุโส ประสบการณ์ในการทำงาน
ไม่ใช่เพราะพระท่านอยากได้ แต่เมื่อมีพระสงฆ์มากก็ต้องจัดระบบการปกครอง และระเบียบวินัยเป็นธรรมดา ยศพระมีไว้เพื่อเป็นการให้กำลังใจยกย่องการทำประโยชน์ต่องานพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ได้ความรู้เพิ่มเติมดีครับ

Anionie กล่าวว่า...

คนที่ด่าพระก็เอาความคิดแบบทางโลกๆมาใช้คิดว่าพระมีตำแหน่งแล้วจะบ้าตำแหน่งอย่าเอามาเปรียบกับบรรทัด,สนตัวเองหรือบรรทัดฐานทางสังคมที่ถูกปลูกฝังกันมาอย่างนั้นจนแยกแยะไม่ออกว่าใครเป็นใคร แยกไม่ออกถึงสถานะของสังคมที่แตกต่างกันแต่เอามา เปรียบ้ทียบเชื่อมโยงกันอย่างนี้มันไม่ถูกไม่ควรเลย

Unknown กล่าวว่า...

จริงแท้ค่ะ พระท่านมิได้เย้อหยิ่ง ปถุชนเช่นเราไม่สามารถแยกได้เลยค่ะจากการวางตัวว่าองค์ใดมีสมณศักดิ์สูงกว่า นอกจากจะสังเกตุจากการทำความเคราพกันในหมู่สงฆ์ อยากเรียกว่ายึดติดอำนาจเลยค่ะ มีแต่ภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่สงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

จริงแท้ค่ะ พระท่านมิได้เย้อหยิ่ง ปถุชนเช่นเราไม่สามารถแยกได้เลยค่ะจากการวางตัวว่าองค์ใดมีสมณศักดิ์สูงกว่า นอกจากจะสังเกตุจากการทำความเคราพกันในหมู่สงฆ์ อยากเรียกว่ายึดติดอำนาจเลยค่ะ มีแต่ภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่สงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยค่ะ

P.Tom กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ สาธุ สาธุ


Unknown กล่าวว่า...

สาธุๆ อนุโมทนาบุญในข้อมูลดีๆนะครับ ^^

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นการเปรียบเทีบบที่เห็นภาพชัดเจนมากค่ะ

punyaRele กล่าวว่า...

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับผู้เขียนค่ะ จริงแท้ มีไว้เพื่อให้คณะสงฆ์มีการปกครองเป็นไปโดยเรียบร้อย เป็นการข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง

ขับเคลื่อนโดย Blogger.